0
๑. ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล
ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูนตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลลำพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของที่การอำเภอบ้านนาสาร มีถนนลาดยางติดต่อกับ อำเภอ 2 สาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร และ 15 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านไร่เหนือ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งเตา อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากเขาตังกวน บริเวณพิกัด N K 470834 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงคลองลำพูน บริเวณพิกัด N K 485811 ผ่านกึ่งกลางคลองลำพูน ผ่านคลองหยา สิ้นสุดที่ห้วยสองพี่น้อง บริเวณพิกัด N K 540845 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 7 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากห้วยสองพี่น้อง บริเวณพิกัด N K 540845 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวสันเขาหมากรุก ผ่านเขาญวณเต่า ถึงเขานันเมีย สิ้นสุดที่สันเขานันเมียและเขาช่องลม บริเวณพิกัด N K 572764 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านวังศิลาดิเรกสาร หมู่ที่ 3 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสันเขานันเมียและเขาช่องลม บริเวณพิกัด N K 572764 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวช่องเขาหนอง ไปตามลำคลองหนองบรรจบลำคลองฉวาง บริเวณพิกัด N K 462778 ไปทางทิศใต้ ผ่านกลางสันเขาโฉลก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำคลองงอนผ่านถนนลาดยางสายวังหิน และสวนยางพารา สิ้นสุดที่หลักไม้แนวเขตระหว่างตำบลลำพูน ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ และเขตเทศบาลตำบลนาสาร บริเวณพิกัด N K 437698 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากหลักไม้แนวเขตระหว่างตำบลลำพูน ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ และเขตเทศบาลเมืองนาสาร บริเวณพิกัด N K 437698 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวสันเขาสามยอด ถึงหลักเขตเทศบาลเมืองนาสาร หลักเขตที่ 7 ไปตามแนวสันเขาวัดโฉลก ถึงหลักเขตเทศบาลเมืองนาสาร หลักเขตที่ 8 บริเวณพิกัด N K 430732 ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวลำคลองฉวาง ถึงวัดนาสาร บริเวณเขาหน้าแดง บริเวณพิกัด N K 411732 ไปทางทิศเหนือ ไปตามเขาหน้าแดงฝั่งซ้าย ผ่านสวนยางพารา ตัดผ่านคลองเหยียน และถนนสายหนองดุก-ปลายน้ำ บริเวณพิกัด N K 442809 ไปทางทิศเหนือ ไปตามเขาหน้าแดงฝั่งซ้าย ผ่านสวนยางพารา ตัดผ่านคลองเหยียน และถนนสายหนองดุก-ปลายน้ำ บริเวณพิกัด N K 442809 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำห้วยแร่หัวล้าน สิ้นสุดที่เขาตังกวน บริเวณพิกัด N K 470834 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร
เนื้อที่พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 161 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณพื้นที่ทั้งหมด 116,805 ไร่
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพูนเป็นภูเขาสลับควนและราบลุ่ม บริเวณลำคลองฉวางและลำคลองลำพูน มีพื้นที่น่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร โดยมีสภาพพื้นที่สรุปได้ดังนี้
พื้นที่ทำการเกษตร 35,257 ไร่
พื้นที่ป่าไม้และอื่นๆ 81,548 ไร่
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน และฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 37 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน ภูมิประเทศส่วนใหญ่ขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพูนเป็นพื้นที่ภูเขาสลับควนและราบลุ่ม ในพื้นที่มีภูเขาหินปูนกระจายอยู่บางส่วน ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย จึงเหมาะแก่การทำการเกษตรปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่ง
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน ประกอบด้วยการแบ่งอำนาจการปกครองท้องที่ ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านเขาน้อย ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นางอมรรัตน์ กาโห
หมู่ที่ 2 บ้านปลายน้ำ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นางนิภาพร อินทร์ชู
หมู่ที่ 3 บ้านคลองหาเหนือ ชื่อกำนัน นายเสน่ห์ จรดิษฐ์
หมู่ที่ 4 บ้านหมาก ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสัมพันธ์ เพชรประดิษฐ์
หมู่ที่ 5 บ้านปลายธารราชรักษา ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายไพจิตร บุญชู
หมู่ที่ 6 บ้านกอบแก้ววัฒนาภิบาล ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายธวัชชัย ง้าวลาย
หมู่ที่ 7 บ้านสระบัว ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายประจักษ์ พัฒสังวาล
2.2 การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน ประกอบด้วย 7 เขตการเลือกตั้ง และ 9 หน่วยการเลือกตั้ง ดังนี้
เขตการเลือกตั้ง จำนวน 7 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย
เขตเลือกตั้งที่ 1 บ้านเขาน้อย
เขตเลือกตั้งที่ 2 บ้านปลายน้ำ
เขตเลือกตั้งที่ 3 บ้านคลองหาเหนือ
เขตเลือกตั้งที่ 4 บ้านหมาก
เขตเลือกตั้งที่ 5 บ้านปลายธารราชรักษา
เขตเลือกตั้งที่ 6 บ้านกอบแก้ววัฒนาภิบาล
เขตเลือกตั้งที่ 7 บ้านสระบัว
หน่วยเลือกตั้ง จำนวน 9 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบด้วย
หน่วยเลือกตั้งที่ 1 ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1
หน่วยเลือกตั้งที่ 2 ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2
หน่วยเลือกตั้งที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองหาเหนือ
หน่วยเลือกตั้งที่ 4 ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3
หน่วยเลือกตั้งที่ 5 ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4
หน่วยเลือกตั้งที่ 6 ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5
หน่วยเลือกตั้งที่ 7 ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
หน่วยเลือกตั้งที่ 8 ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7
หน่วยเลือกตั้งที่ 9 โรงเรียนบ้านเขาน้อย
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน และมีจำนวนครัวเรือน / ประชากรแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
รวม |
|
เพศชาย |
เพศหญิง |
|||
1 |
215 |
357 |
333 |
690 |
2 |
316 |
432 |
430 |
862 |
3 |
384 |
581 |
638 |
1,219 |
4 |
295 |
388 |
375 |
763 |
5 |
242 |
350 |
379 |
729 |
6 |
278 |
310 |
322 |
632 |
7 |
378 |
557 |
546 |
1,103 |
รวม |
2,108 |
2,975 |
3,023 |
5,998 |
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 5,998 คน จำแนกตามช่วงอายุ ได้ดังนี้
ช่วงอายุ |
จำนวนประชากร |
รวม |
|
เพศชาย |
เพศหญิง |
||
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม |
30 |
23 |
53 |
1 ปี เต็ม - 2 ปี |
78 |
66 |
144 |
3 ปี เต็ม - 5 ปี |
114 |
108 |
222 |
6 ปี เต็ม - 11 ปี |
222 |
257 |
479 |
12 ปี เต็ม - 14 ปี |
124 |
125 |
249 |
15 ปี เต็ม - 17 ปี |
119 |
108 |
227 |
18 ปี เต็ม - 25 ปี |
335 |
301 |
636 |
26 ปี เต็ม - 49 ปี |
1,162 |
1,149 |
2,311 |
50 ปี เต็ม - 60 ปี เต็ม |
472 |
457 |
929 |
มากกว่า 60 ปี เต็ม ขึ้นไป |
319 |
429 |
748 |
รวม |
2,975 |
3,023 |
5,998 |
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน ดังนี้
1) โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนบ้านเขาน้อย โรงเรียนบ้านคลองหาเหนือ
2) โรงเรียนประถมศึกษาที่ขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยม จำนวน 1 โรง คือ โรงเรียนบ้านปลายน้ำ
3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหาเหนือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาน้อย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปลายธารราชรักษา
4.2 สาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีหน่วยสาธารณสุข ดังนี้
1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลายน้ำ หมู่ที่ 5
สมาชิก อสม. ระดับตำบล 103 คน
2) อัตราการมีส้วมราดน้ำใช้ 100%
4.3 อาชญากรรม องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีการดูแลความสงบเรียบร้อยและ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีหน่วยต่างๆ ดังนี้
1) ชุด ชรบ. หมู่บ้าน ครบทั้ง 7 หมู่บ้าน
2) ชุดเฉพาะกิจกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 ชุด
3) ป้อมตำรวจชุมชน จำนวน 1 แห่ง
4) ศูนย์อำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว (โครงการจุฬาภรณฑ์พัฒนา 8) จำนวน 1 แห่ง
5) ชุด อพปร. จำนวน 1 ชุด
4.4 ยาเสพติด องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ได้มีชุดตำรวจ/เจ้าหน้าที่ปกครอง/ท้องถิ่น ได้ให้ความรู้และคอยสอดส่องดูแลภายในพื้นที่อยู่สม่ำเสมอ เมื่อตรวจพบผู้ติดยาเสพติดก็ส่งไปบำบัดและฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดโดยท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณในการบำบัดฟื้นฟู
4.5 การสังคมสงเคราะห์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564 )
- มีผู้สูงอายุ จำนวน 913 คน
- ผู้พิการ จำนวน 132 คน
- ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 13 คน
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ จำนวน 82 สาย
5.2 การไฟฟ้า ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าโดยประมาณ 95%
5.3 การประปา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีทั้งระบบประปาภูเขา และระบบประปาหมู่บ้าน ได้แก่ บ่อบาดาลน้ำตื้น บ่อบาดาลน้ำลึก ฝายหนานลูกปลา ฝายหนานเตย
5.4 โทรศัพท์ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีระบบโทรคมนาคม ดังนี้
1) เสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ไร้สาย จำนวน 9 แห่ง
2) โทรศัพท์พื้นฐานบ้าน
๕.๕ ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง มีไปรษณีย์อนุญาต ๑ แห่ง และรถรับส่งวัสดุครุภัณฑ์เอกชนบริการโดยตลอด
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก ทรัพยากรด้านผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง
6.2 การประมง การเลี้ยงสัตว์น้ำ ในพื้นที่ตำบลลำพูนมีน้อยมาก ทั้งนี้ ในอดีตมีสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุกชุมมาก แต่ปัจจุบันสัตว์น้ำในแหล่งน้ำมีปริมาณลดลงเนื่องจากประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์
6.3 การปศุสัตว์ ปัจจุบันในพื้นที่มีสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ไก่ และหมู แต่ไม่มีการรวมกลุ่มในการส่งเสริมอาชีพ มีปริมาณจำนวนน้อยลง เนื่องจากไม่ค่อยมีพื้นที่เลี้ยงสัตว์
6.4 การบริการ หน่วยธุรกิจบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีดังนี้
1) จุดรับซื้อน้ำยาง จำนวน 22 แห่ง
2) ร้านรับซื้อเศษยาง จำนวน 3 แห่ง
3) ร้านรับซื้อยางแผ่น จำนวน 1 แห่ง
4) ร้านขายของชำ จำนวน 17 แห่ง
5) ตลาดนัด จำนวน 1 แห่ง
6) ร้านซ่อมจักรยานรถยนต์ จำนวน 5 แห่ง
7) สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน ได้แก่ โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 , น้ำตกดาดฟ้า ,จุดเล่นน้ำวังท่าไฟ , ถ้ำเขาเมาะ , ถ้ำเขาหน้าแดง และหมู่บ้านนวัตวิถึ คือบ้านสระบัว หมู่ที่ 7
6.6 อุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่ มีเหมืองแร่ยิบซัมและแอนไฮไดรต์ จำนวน 1 แห่ง
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ประชากรในเขตพื้นที่ ประกอบอาชีพต่างๆ ดังนี้
1) เกษตรกรรม ประมาณ 65 %
2) ค้าขาย ประมาณ 15 %
3) รับราชการ / รัฐวิสาหกิจ ประมาณ 5 %
4) รับจ้างทั่วไป ประมาณ 15 %
6.8 แรงงาน แรงงานในพื้นที่จะเป็นกลุ่มคนจากทางภาคอีสานซึ่งเข้ามาเก็บผลผลิตในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวไม้ผลส่วนใหญ่ และชาวพม่าที่เข้ามาทำงานรับจ้างทั่วไป และทำสวนยางพารา
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีองค์กรทางศาสนา ดังนี้
1) วัด จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดโฉลกศิราราม หมู่ที่ 4 และวัดพัฒนารมย์ หมู่ที่ 2
2) สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สำนักสงฆ์บ้านคลองหาเหนือ หมู่ 3
7.2 ประเพณีและงานประจำปี ประเพณีสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ประเพณีรับ - ส่งตายาย ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญวันสาร์ทในเดือนสิบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกท้องที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูอย่างสูงยิ่งต่อบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทุกครอบครัวไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ในพื้นที่ตำบลลำพูน ยังมีงานประจำปีที่สำคัญอื่นๆ อีก ได้แก่ งานสมโภชน์ศาลหลักเมืองของตำบลลำพูน งานประเพณีขวัญข้าว และงานสรงน้ำพ่อท่านครูเขียว
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลลำพูน ได้แก่ การหุงข้าวด้วยกระบอกไม้ไผ่ การทำหมับถวายพ่อท่าน หลักเมือง และหมอตำแย ภาษาถิ่นที่ใช้ คือ ภาษาใต้
7.4 OTOP สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึก สินค้าพื้นเมืองของตำบลลำพูน ได้แก่ น้ำผึ้งป่า นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีผู้ประกอบการอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลลำพูน ได้แก่ สละพันธุ์สุมาลี สละลอยแก้ว กล้วยฉาบ น้ำผึ้ง ผักพื้นบ้าน ขนมไทยต่างๆ น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกไตปลาแห้ง ข้าวหลาม ทุเรียนกวน เงาะลอยแก้ว ลูกชกลอยแก้ว สะตอดอง คั่วยอดเมาะ น้ำสมุนไพรแม่พราวพรรณ ไม้กวาด ไม้แกะสลัก และจักสานจากไม้ไผ่
7.5 คำขวัญ ตำบลลำพูน "ถิ่นเขางาม น้ำตกสวย อุดมด้วยป่า ลือชาผลไม้ มากมายน้ำผึ้ง ซาบซึ้งคุณธรรม"
8.ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ ในพื้นที่ตำบลมีลำคลองฉวางและลำคลองลำพูนไหลผ่าน มีพื้นที่น่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร
8.2 ป่าไม้ องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน มีพื้นที่ป่าอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 6 (โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8) และหมู่ที่ 7 บ้านสระบัว สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหมือด กำยาน บังตาน
8.3 ภูเขา เป็นพื้นที่ภูเขาสลับควนและราบลุ่ม ในพื้นที่มีภูเขาหินปูนกระจายอยู่บางส่วน
8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้งและทวีความรุนแรง อาทิ ดินโคลนถล่ม อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง และไฟป่า นำไปสู่การขาดความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนตื่นตระหนกและขาดความรู้ความเข้าใจและการเตรียมการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ดี นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งหวังกำไรเกินควร นำไปสู่การทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการบุกรุกพื้นที่ป่า ครอบครองที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว